เมื่อ 'คลิปเสียง' สั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลอย่างรุนแรง ท่ามกลางความผันผวนของการเมืองที่ยังไม่รู้จะเป็นอย่างไรต่อ ปรากฏการณ์นี้ในอีกด้านหนึ่งกำลังส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายและการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนที่อาจสะดุดได้
ขีดความสามารถแข่งขันของไทย “วิกฤต“ ถดถอยในทุกด้าน อันดับลดลง 5 อันดับ อยู่ที่ 30 จากทั้งหมด 69 แห่ สะท้อนมีข้อจำกัดในการรับความผันผวนในโลกยุคใหม่ โลกมาถึง “ยุคชาตินิยมยุคใหม่“ ผู้เชี่ยวชาญแนะถึงช่วงที่ “รอไม่ได้อีกต่อไป“
การปฏิรูปการศึกษาล่าช้า ทำให้คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนตกต่ำลงเรื่อย ๆ เด็กเผชิญสารพัดปัญหา ทั้งสุขภาพกาย-สุขภาพจิต อัตรานักเรียนป่วยซึมเศร้าเพิ่มขึ้น บุหรี่ไฟฟ้าใกล้โรงเรียน เพิ่มขึ้น ขณะที่เด็กไทยส่วนใหญ่ไม่กินอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียนทำให้ ขาดสมาธิในการเรียนรู้
ปฏิรูปการศึกษา ล้มเหลวซ้ำซาก ผู้เชี่ยวชาญการศึกษา ระบุ 6 ปัญหาการศึกษาไทยที่ต้องการปฏิรูปการศึกษาแบบเร่งด่วน ที่ผ่านมาทำได้เพียงตั้งคณะกรรมการและกองเอกสาร แต่ไม่มีผลต่อคุณภาพการศึกษา ขณะที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ใช้มา 26 ปี ไม่มีการแก้ไข เหตุการเมืองขาดความกล้าหาญตัดสินใจผ่าตัดกระทรวง
การปฎิรูปการศึกษา พูดกันมานานกว่าครึ่งศตวรรษ แต่การศึกษา “ย่ำอยู่กับที่“ ภาพของการศึกษาไทยยังคงเหมือนเดิม ปัญหาเดิม ๆ ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เผยเครื่องมือประเมินโรงเรียนของไทย ไม่ได้มาตรฐาน ไม่สะท้อนความเป็นจริง ขณะที่คุณภาพนักเรียนย่ำแย่
เริ่มแล้วโครงการ "ทุนการศึกษาเพื่อขยายโอกาสและพัฒนาประเทศ" หรือ ODOS สำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย เฉลี่ยไม่เกินเดือนละ 12,000 บาท หลังครม.อนุมัติงบกว่า 4 พันล้าน ให้ทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรี ทั้งใน-ต่างประเทศ รวม 4,800 คน
รัฐบาลกำหนดทิศทางวิจัยการศึกษาของชาติปี 2568-2570 ครั้งแรก แก้ปัญหางานวิจัยด้านการศึกษาไร้ทิศทาง สะเปะสะปะ ไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคม จนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม ตีกรอบ 4 ด้าน จัดระบบโครงสร้างการศึกษา เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาใหม่
ความหวังการปฏิรูปการศึกษาจากการผลักดัน พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่ ยังต้องรอต่อไป แม้มีความพยายามแก้ไขพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ที่ใช้มานาน 26 ปี เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาไทยในหลายด้าน แต่ร่างกฎหมายใหม่ยังไปไม่ถึงไหน ยังไม่ผ่านการพิจารณาของครม. และมีแนวโน้มไม่ทันใช้ในรัฐบาลนี้
ปัญหาการศึกษาของไทยกำลังเข้าขั้นน่าเป็นห่วง สะท้อนผ่านดัชนีชี้วัดหลายตัว ทั้งจำนวนเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาที่เพิ่มขึ้นเป็นปีละกว่าแสนคน ไปจนถึงคะแนนสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ที่ค่าเฉลี่ยคะแนนนักเรียนไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ย